ระเบียบปฏิบัติสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม

๑. การปฏิบัติธรรมแบ่งออกเป็น ๔ ช่วงในแต่ละวัน ดังนี้

  • ช่วงแรก ๐๔.๐๐ น. – ๐๗.๐๐ น.
  • ช่วงที่สอง ๐๘.๐๐ น. – ๑๑.๐๐ น.
  • ช่วงที่สาม ๑๓.๐๐ น. – ๑๖.๐๐ น.
  • ช่วงที่สี่ ๑๘.๐๐ น. – ๒๑.๐๐ น.

(ตารางเวลานี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม)

๒. ขั้นตอนการปฏิบัติ

เมื่อ ผู้ปฏิบัติมาพร้อมกันตามเวลาในการปฏิบัติช่วงแรก ณ สถานที่ปฏิบัติแล้ว หัวหน้าจุดเทียนธูปบูชาพระรัตนตรัยนำสวดมนต์ กราบพระประธานแล้ว จึงเริ่มปฏิบัติธรรม โดยการเดินจงกรมก่อน ๓๐ นาที แล้วเปลี่ยนอิริยาบถ เข้ามานั่งกรรมฐาน ๓๐ นาที สลับกันไปจนครบเวลาปฏิบัติที่กำหนด ส่วนเวลาในการปฏิบัติ ๓๐ นาที ที่กำหนดให้นี้ ผู้ปฏิบัติอาจปรับให้มากหรือน้อยกว่า ๓๐ นาที ตามความเหมาะสมของสภาวะอารมณ์

 ๓. ก่อนถึงเวลาพักทุกช่วง  ผู้ปฏิบัติธรรมควรอยู่ในอิริยาบถของการนั่งพับเพียบประนมมือ ทั้งนี้เพราะเมื่อสิ้นสุดการปฏิบัติในแต่ละช่วง จะได้แผ่เมตตาต่อไปได้ โดยไม่เสียสมาธิจิต

๔. เมื่อแผ่เมตตา (สัพเพ สัตตา….) เสร็จ แล้ว ให้อุทิศส่วนกุศลผลบุญในการปฏิบัติธรรมแก่มารดา บิดา ญาติพี่น้อง เทวดา เปรต และสรรพสัตว์ทั้งหลาย (อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ…) จากนั้นลุกขึ้นนั่งคุกเข่าสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย (อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา…) กราบพระประธาน ขั้นตอนในการปฏิบัติจะเป็นเช่นเดียวกันในช่วงที่ ๒-๓-๔ ไม่มี เพราะได้บูชาแล้วในช่วงแรก

๕. การให้ความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติที่มาใหม่ พระ อาจารย์หรือหัวหน้าผู้ได้รับมอบหมาย จะเป็นผู้ให้คำแนะนำการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเบื้องต้น ส่วนการทดสอบอารมณ์ ตลอดจนความรู้้ที่ละเอียดขึ้น พระอาจารย์และพระคุณเจ้าจะเป็นผู้ให้ความรู้หลังจากปฏิบัติธรรม ผู้ปฏิบัติธรรมที่ไม่เข้าใจ หากมีข้อสงสัยใด ๆ อาจใช้ช่วงเวลานี้สอบถามขอความรู้ได้

๖. ห้ามคุย บอก หรือถามสภาวะกับผู้ปฏิบัติ เพราะ จะเป็นภัยแก่ผู้ที่กำลังปฏิบัติทั้งต่อตนเองและผู้อื่น โดยจะทำให้อารมณ์ฟุ้งซ่านและเพ้อเจ้อ หากมีความสงสัยในข้อวัตรปฏิบัติอย่างไรแล้วให้เก็บไว้สอบถามครูผู้สอน ห้ามสอบถามผู้ปฏิบัติด้วยกันเป็นอันขาด

๗. ถ้ามีความจำเป็นจริง ๆ ก็ให้พูดเบา ๆ ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ แต่ไม่ควรพูดนานเพราะจะทำให้ฟุ้งซ่านทั้งผู้พูดและผู้ฟัง และทำให้การปฏิบัติไม่ก้าวหน้า

๘. ถ้ามีเรื่องจะพูดกันนาน ต้องออกจากห้องกรรมฐานไปพูดในสถานที่อื่น ห้ามใช้ห้องปฏิบัติพูดคุยกับผู้มาขอพบ

๙. ขณะที่ยังอยู่ในระหว่างการปฏิบัติ ห้ามอ่านหนังสือ เขียนหนังสือ ฟังวิทยุ ดูทีวี ตลอดจนสูบบุหรี่ เคี้ยวหมาก และควรปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด

๑๐. ผู้ปฏิบัติฯ จะต้องไม่เสพเครื่องดองของมึนเมา หรือนำยาเสพติดทุกชนิด เข้ามาในบริเวณสำนักเป็นอันขาด

๑๑. นักปฏิบัติต้องระวังระลึกเสมอว่า เรามาปฏิบัติเพื่อยกระดับจิตใจ ขัดเกลากิเลสตัณหาให้เบาบางลง มิใช่มาเพื่อหาความสุข ในการอยู่ดีกินดี จึงต้องใช้ความอดทนเป็นพิเศษต่อความไม่สะดวก และสิ่งที่กระทบกระทั่ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องทดสอบความอดทนและคุณธรรมของนักปฏิบัติว่ามี อยู่มากน้อยเพียงใด

นักปฏิบัติต้องเข้าอบรม รับศีล ประชุมพร้อมกันอยู่ในอุโบสถหรือศาลาที่จัดไว้ตามความเหมาะสมกับจำนวนนักปฏิบัติในวันพระ

หาก ผู้ปฏิบัติเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้น ให้รีบแจ้งแก่เจ้าหน้าที่โดยเร็ว เพื่อหาทางช่วยเหลือตามสมควรแก่กรณีไม่ควรละการปฏิบัติ ในเมื่อไม่มีความจำเป็น

ห้องหรือกุฏิที่จัดไว้เป็นห้องปฏิบัติเฉพาะ นักปฏิบัติที่เป็นบุรุษก็ดี สตรีก็ดี ห้ามมิให้เพศตรงข้ามเข้าไปนอน หรือใช้ห้องสุขาโดยเด็ดขาด

๑๒. ผู้ปฏิบัติธรรมควรสังเกตสัญญาณการนั่ง การกราบจากอาจารย์ผู้นำ ทั้งนี้เพื่อความพร้อมเพรียงเป็นระเบียบ และเจริญตาแก่ผู้พบเห็น

๑๓. การออกนอกบริเวณสำนักโดยการพิธีทุกครั้ง อาจารย์ผู้ปกครองจะเป็นผู้นำไปทั้งไปและกลับ ให้เดินเป็นแถวตอนเรียงหนึ่ง ตามลำดับอาวุโส ด้วยอาการสงบสำรวม

๑๔. นักปฏิบัติฯ จะต้องยู่ในบริเวณที่กำหนดให้เท่านั้น ถ้าไม่มีธุระจำเป็นไม่ควรออกนอกสถานที่ปฏิบัติ และถ้ามีธุระจำเป็นไม่ควรออกนอกสถานที่ปฏิบัติ และถ้ามีธุระจำเป็นจะต้องออกนอกสำนัก ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลเสียก่อน

๑๕. ขอความร่วมมือได้โปรดช่วยกันรักษาความสะอาด ในห้องพัก หน้าห้องพัก ห้องสุขา และขอให้ใช้น้ำ – ไฟฟ้าอย่างประหยัด

๑๖. ไม่ควรเปิดน้ำ ไฟฟ้า พัดลม และอุปกรณ์ไฟฟ้าทิ้งไว้เมื่อไม่อยู่ในที่พักหรือศาลาปฏิบัติธรรม

๑๗. เวลาว่างตอนเช้า ตอนกลางวัน หรือตอนเย็น ผู้ปฏิบัติธรรมอาจใช้เวลาว่าง ตอนกลางวัน หรือตอนเย็น ทำความสะอาดกวาดลานภายในเขตสำนักและบริเวณที่พัก เพื่อความสะอาดของสถานที่และเจริญสุขภาพของผู้ปฏิบัติ

๑๘. การรับประทานอาหารมี ๒ เวลา และดื่มน้ำปานะ ๒ เวลา ดังนี้

๐๗.๐๐ น. รับประทานอาหารเช้า

๑๑.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน

๑๗.๓๐ น. ดื่มน้ำปานะ

๒๑.๐๐ น. ดื่มน้ำปานะ

(ตารางเวลาอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม)

๑๙. การรับประทานอาหารและดื่่มน้ำปานะทุกครัั้ง ผู้ปฏิบัติธรรมต้องมารับประทานพร้อมกัน ตามเวลาที่กำหนด และต้องนั่งดื่มน้ำให้เรียบร้อย ช่วยกันทำความสะอาดภาชนะและสถานที่ด้วยทุกครั้ง

๒๐. เมื่อตักอาหารใส่ภาชนะแล้ว ให้เข้านั่งประจำที่ให้เป็นระเบียบ ต้องนั่งชิดด้านในก่อนเสมอ เมื่อเต็มแล้วจึงเริ่มแถวใหม่ต่อไป รอจนพร้อมเพรียงกันแล้ว หัวหน้าจะกล่าวนำคำบูชาข้าวพระ และคำพิจารณาอาหาร

๒๑. ขณะนั่งรอและรับประทานอาหาร ผู้ปฏิบัติธรรม ไม่ควรคุยกันหรือแสดงอาการใด ๆ ที่ไม่สำรวม

๒๒. เมื่อเสร็จจากการรับประทานอาหาร ให้ผู้ปฏิบัติธรรมช่วยกันเก็บกวาดสถานที่ ทำความสะอาดภาชนะให้เรียบร้อย

๒๓. นักปฏิบัติจะต้องไม่นำของที่มีค่าติดตัวมาด้วย หากสูญหาย ทางสำนักจะไม่รับผิดชอบ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น

๒๔. นักปฏิบัติจะต้องไม่คะนองกาย วาจา หรือส่งเสียงก่อความรำคาญ หรือพูดคุยกับบุคคลอื่นโดยไม่มีความจำเป็น ถ้ามีผู้มาเยี่ยมจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่เสียก่อน การเยี่ยมนั้นให้ผู้มาเยี่ยมสนทนาได้ไม่เกิน ๑๕ นาที ถ้าเป็นเพศตรงข้าม ให้ออกไปคุยข้างนอกสถานที่ปฏิบัติ

๒๕. การลา เมื่อผู้ปฏิบัติธรรม ได้ปฏิบัติครบตามกำหนดที่ได้แจ้งความจำนงไว้แล้วนั้น เจ้าหน้าที่จะได้จัดเตรียมดอกไม้ ธูป เทียน เพื่อทำพิธีรับศีล ๕ ลากลับบ้าน และขอขมาพระรัตนตรัย ให้ผู้ปฏิบัติธรรมที่จะรับศีล ๕ ไปพร้อมกัน ณ ที่่นัดหมาย (ฟังประกาศจากเจ้าหน้าที่) โดยอาจารย์ผู้ปกครองเป็นผู้นำไป

ใน กรณีที่มีความจำเป็นต้องลากลับก่อนกำหนดนั้น ผู้ปฏิบัติต้องแจ้งให้อาจารย์ผู้ปกครองทราบสาเหตุและหากไม่มีความจำเป็นไม่ ควรหนีกลับไปโดยพลการ เพราะจะเป็นผลเสียต่อผู้ปฏิบัติ

๒๖. ถ้านักปฏิบัติผู้ใด ไม่ทำตามระเบียบของสำนักที่กำหนดไว้ ทางสำนักจำเป็นจะต้องพิจารณาเตือนให้ทราบก่อน ทางสำนักจำเป็นจะต้องพิจารณาเตือนให้ทราบก่อน หากยังไม่ยอมรับฟัง ทางสำนักมีความเสียใจเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องขอให้ออกจากสำนัก ทั้งนี้เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่บุคคลอื่น ที่จะเข้ามาปฏิบัติต่อไป