กฎแห่งกรรม-ธรรมปฏิบัติ พระธรรมสิงหบุราจารย์

จิตเป็นอิสระโดยพระกรรมฐาน (ตอนที่ ๓) จบ

ส่งศรี รุ่งถาวรวงศ์

ที่มา : หนังสือกฎแห่งกรรม-ธรรมปฏิบัติ พระธรรมสิงหบุราจารย์ เล่มที่ ๒๕ หน้า ๑๑๙ – ๑๒๖

หลังจากนั้น ข้าพเจ้าได้ไปเพียรอีก ๑๐ วัน ขณะกำหนดอิริยาบถย่อยใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ได้เห็น รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์เป็นเพียงเครื่องระลึกของสติเท่านั้นเอง เห็นทุกอย่างเป็นสมมุติบัญญัติอย่างแน่นอน

ข้าพเจ้าและครอบครัวขอน้อมกราบพระเดชพระคุณพระธรรมสิงหบุราจารย์ด้วยความเคารพอย่างสูง ที่หลวงพ่อเมตตาครอบครัวของข้าพเจ้าตลอดมา มีหลวงพ่อเป็นพ่อแม่ครูบาอาจารย์ในกรรมฐาน สอนสติปัฏฐานสี่ เรื่องของกาย เวทนา จิต และธรรม และสอนการใช้ชีวิตให้ลูก ๆ ทุกคนได้เดินทางตรง เป็นทางสายเอก ไม่เสียเวลาของชีวิตที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์

ด้วยอำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และบารมีธรรมของพระเดชพระคุณพระธรรมสิงหบุราจารย์ และพ่อแม่ครูบาอาจารย์ บุญใดที่ข้าพเจ้าได้กระทำดีแล้ว ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันวันนี้ ในทาน ศีล และภาวนา ข้าพเจ้าขอน้อมถวายพระเดชพระคุณพระธรรมสิงหบุราจารย์ เพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ขอหลวงพ่อมีแต่ความเกษมสำราญทั้งกายและใจ ปราศจากโรคาพยาธิแผ้วพาน มีอายุยืนนาน อยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้แก่ศิษยานุศิษย์ตราบนานเท่านาน เทอญ

ส่งศรี รุ่งถาวรวงศ์

จิตเป็นอิสระโดยพระกรรมฐาน (ตอนที่ ๒)

ส่งศรี รุ่งถาวรวงศ์

ที่มา : หนังสือกฎแห่งกรรม-ธรรมปฏิบัติ พระธรรมสิงหบุราจารย์ เล่มที่ ๒๕ หน้า ๑๑๙ – ๑๒๖

ข้าพเจ้าจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๖ เมื่ออายุ ๑๙ ปี ฐานะทางบ้านไม่ค่อยดีจึงไม่ได้เรียนต่อ ต้องออกมาเข็นรถขายของ เพื่อน ๆ ได้เรียนกันหมด ข้าพเจ้าจึงไม่มีเงินเรียนทางโลกเหมือนเพื่อน จึงขอเรียนวิชากรรมฐานที่หลวงพ่อสอนตอนนี้ให้ถึงที่สุด

ข้าพเจ้ามีความทุกข์มากทั้งกายและใจ เกี่ยวกับฐานะการเงินของครอบครัว จากการได้ฟังหลวงพ่อเทศน์ ข้าพเจ้าตั้งใจเป็นคนดี กตัญญูกตเวฑิตาต่อพ่อแม่ และยอมชดใช้กรรม พร้อมกับรีบเร่งทำความดีในทาน ศีล และภาวนา โดยไม่หยุดหย่อน (เพิ่มเติม…)

จิตเป็นอิสระโดยพระกรรมฐาน (ตอนที่ ๑)

ส่งศรี  รุ่งถาวรวงศ์

ที่มา : หนังสือกฎแห่งกรรม-ธรรมปฏิบัติ พระธรรมสิงหบุราจารย์ เล่มที่ ๒๕ หน้า ๑๑๙ – ๑๒๖

————————————————————————————————

ข้าพเจ้าชื่อ ส่งศรี รุ่งถาวรวงศ์ อายุ ๔๓ ปี เมื่อเป็นเด็กชอบอ่านหนังสือธรรมะและฟังเทศน์มาก ได้มีโอกาสมาฟังหลวงพ่อเทศน์ทุกเดือน

หลวงพ่อสอนกรรมฐานง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ว่า

๑. ให้มีสติปักไปในฐานกาย กายจะหันซ้ายแลขวา จะคู้แขนเหยียดขา ให้มีสติกำหนดไว้

๒. ให้มีสติปักในฐานเวทนา จะสุขทุกข์หรือเฉย ๆ ทางกายและใจ ให้มีสติกำหนดไว้

๓. ให้มีสติปักในฐานจิต จิตเกิดทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้มีสติกำหนดไว้

๔. ให้มีสติปักในฐานธรรม กุศล อกุศล อะไรเกิด ให้มีสติกำหนดไว้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ถ้าขาดสติกำหนด  ชอบเกิดขึ้นเป็นโลภะ ตายขณะนั้นไปเป็นเปรตและอสุรกาย ไม่ชอบเป็นโทสะ ตายขณะนั้นไปลงนรก ขาดสติกำหนดเป็นโมหะ ตายขณะนั้นเป็นสัตว์เดรัจฉาน (เพิ่มเติม…)

มะตูมแข็งนอก มะกอกแข็งใน (ตอนที่ ๔) : จบ

ตอนจบ….

วามสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่ผมและครอบครัวดีใจ ภาคภูมิใจที่ได้ทำเพื่อส่วนรวม ประเทศชาติ และผมเชื่อมั่นว่าอานิสงส์ของกรรมดี และการปฏิบัติธรรมของตนเอง ตลอดจนแรงกตัญญูของผมต่อบุพการี เตี่ย แม่ ครอบครัว ครูบาอาจารย์ และเพื่อนร่วมงานทุกคน มีส่วนร่วม ด้วยแรงรักเมตตาและศรัทธาที่มีต่อกัน ความคิดร่วมมือร่วมทำร่วมแก้ปัญหาให้สำเร็จได้ด้วยดี ตามคำสอนของหลวงพ่อ ซึ่งได้บอกเสมอว่า “กรรมกำหนดกฎแห่งกรรม” หรือ “ผลงานของชีวิตคือกฎแห่งกรรม” ขอให้อานิสงส์คุณความดีได้แผ่ถึงผู้เกี่ยวข้องทุกท่านมา ณ โอกาสนี้ (เพิ่มเติม…)

มะตูมแข็งนอก มะกอกแข็งใน (ตอนที่ ๓)

ต่อจากตอนที่ ๒….

การเจริญสติปัฏฐาน ๔ ทางสายเอกของพระพุทธเจ้า (กายา เวทนา จิตตา ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน) อยู่ในอริยมรรคมีองค์ ๘ พระพุทธเจ้าสอนเหตุสอนผล เดิมเราอาจจะเป็นคนไม่ค่อยมีเหตุมีผล ใครพูดอะไรก็โกรธ หลงคนง่าย ขี้อิจฉาริษยา เพราะเราเป็นคนไม่มีหลัก การเจริญกรรมฐานทำให้มีความฉลาด มีสติ สมาธิปัญญาเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ทำให้เป็นคนมีศีลธรรม (เพิ่มเติม…)

มะตูมแข็งนอก มะกอกแข็งใน (ตอนที่ ๒)

ต่อจากตอนที่ ๑….

หลวงพ่อบอกว่า “อดทนเป็นประตูแห่งความสำเร็จ” ไม่อย่างนั้นท่านจะไม่พบความจริงของชีวิต จะพบแต่ของปลอม ของปลอมชอบสบาย ของจริงย่อมลำบากและของจริงมันทน ของปลอมมันไม่ทน

อีกอย่างที่สำคัญยิ่งคือ การปฏิบัติกรรมฐานเป็นยาที่วิเศษที่สุด เป็นยาแก้ปัญหาที่ได้ผลสูงสุดในพระพุทธศาสนา ทำให้เรามีฐานชีวิตที่ดี เช่น เวลามีทุกข์ มีปัญหาหนัก ๆ คิดอะไรไม่ได้ เราก็กำหนดที่ลิ้นปี่ หายใจยาว ๆ “ทุกข์หนอ ทุกข์หนอ….” ไปเรื่อย ๆ ทำให้เรามีสมาธิมั่นคง ปัญญาก็เกิด จะคิดออกหมด จะไม่มีปัญหาอะไรเลย ปัญญาจะเกิดขึ้นเอง โดยเฉพาะคิดออกได้เร็ว คิดออกได้ถูกต้องนำไปใช้งานได้ทันที (เพิ่มเติม…)

มะตูมแข็งนอก มะกอกแข็งใน (ตอนที่ ๑)

นายแพทย์วิชัย เทียนถาวร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

ที่มา : หนังสือกฎแห่งกรรม-ธรรมปฏิบัติ พระธรรมสิงหบุราจารย์ เล่มที่ ๒๕ หน้า ๑๐๕ – ๑๑๓

————————————————————————————————

ชื่อเรื่องนี้ เป็นคำสอนของหลวงพ่อที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ “พระธรรมสิงหบุราจารย์” หน้าที่ ๑๑๘ ฉบับวันเกิด ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๑ เป็นคำอุปมาอุปมัยของคำว่า “อดทน อดกลั้น” กล่าวคือ

เปลือกนอกของลูกมะตูมนั้นแข็ง ไม่เปราะบางทนทานได้ทุกสภาพ หลวงพ่ออยากให้ลูกศิษย์ทุกคนอดทนต่อสู้ความลำบาก ทำหน้าที่การงานด้วยความอดทนเข้มแข็งดั่งเปลือกผลมะตูม ที่แข็งข้างนอก ไม่อ่อนยวบยาบ ทนอากาศสิ่งแวดล้อมทุกสภาพ (เพิ่มเติม…)