บทสวดมนต์
กราบพระ ๕ ครั้ง
กราบพระ ๕ ครั้ง
ยกมือขึ้นเถิดหนา ไหว้บูชาพระรัตนตรัย
บูชา คุณพระพุทธ ที่บริสุทธิ์ และผ่องใส
บูชา คุณพระธรรม ที่ท่านน้อมนำ เชิดชูไว้
บูชา คุณพระสงฆ์ ที่ท่านดำรง พระพุทธศาสนา
บูชา คุณบิดามารดา ที่เลี้ยงเรามา จนเติบใหญ่
บูชา ครูบาอาจารย์ ที่ท่านบันดาลวิชาให้ไว้
บูชา ห้าอย่างนี้จำให้ดีนะท่าน เอย (เพิ่มเติม…)
วิธีสวด พุทธคุณ พาหุงฯ มหากาฯ
จากคำสอนของหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี
วิธีการสวดมนต์
“สวดมนต์เป็นนิจ อธิษฐานจิตเป็นประจำ อโหสิกรรมก่อนค่อยแผ่เมตตา ”
การสวดมนต์เป็นนิจนี้ มุ่งให้จิตแนบสนิท ติดในคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ จิตใจจะสงบเยือกเย็นเป็นบัณฑิต
มีความคิดสูง ทิฏฐิมานะทั้งหลาย ก็จะคลายหายไปได้ เราจะได้รับอานิสงส์ เป็นผลของตนเองอย่างนี้ จากสวดมนต์เป็นนิจ
การอธิษฐานจิตเป็นประจำนั้น มุ่งหมายเพื่อแก้กรรมของผู้มีกรรม จากการกระทำครั้งอดีต ที่เรารำลึกได้ และจะแก้กรรมในปัจจุบัน
เพื่อสู่อนาคต ก่อนที่จะมีเวรมีกรรม ก่อนอื่นใด เราทราบเราเข้าใจแล้ว โปรดอโหสิกรรมแก่สัตว์ทั้งหลาย เราจะไม่ก่อเวรก่อกรรมก่อภัยพิบัติ
ไม่มีเสนียดจัญไรติดตัวไปเรียกว่า เปล่า ปราศจากทุกข์ ถึงบรมสุข คือนิพพานได้ เราจะรู้ได้ว่ากรรมติดตามมา และเราจะแก้กรรมอย่างไร
ในเมื่อกรรม ตามมาทันถึงตัวเรา เราจะรู้ตัวได้อย่างไร เราจะแก้อย่างไร เพราะมันเป็นเรื่องที่แล้ว ๆ มา
การอโหสิกรรม หมายความว่า เราไม่โกรธ ไม่เกลียด เรามีเวรกรรมต่อกันก็ให้อภัยกัน อโหสิกันเสีย อย่างที่ท่านมาอโหสิกรรม ณ บัดนี้
ให้อภัยซึ่งกันและกัน พอให้อภัยได้ ท่านก็แผ่เมตตาได้ ถ้าท่านมี อารมณ์ค้างอยู่ในใจ เสียสัจจะ ผูกใจโกรธ อิจฉาริษยา อาสวะไม่สิ้น ไหนเลย
ล่ะท่านจะแผ่เมตตาออกได้ เราจึงไม่พ้นเวรพ้นกรรมในข้อนี้ การอโหสิกรรมไม่ใช่ทำง่าย
จากหนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม ๔ เรื่อง แก้กรรมด้วยการกำหนด โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์ http://www.jarun.org/v6/th/lrule04p0301.html
จากหนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม ๙ เรื่อง ทำความดีนี้แสนยาก โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์ http://www.jarun.org/v6/th/lrule03r0801.html
สวดให้คล่องปาก วิธีในการสวดมนต์พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้สอนไว้ว่า
“เอาตำรามาดูกันก็ไม่ได้ผล แต่ดูตำราเพื่อให้ถูกวรรคตอน และให้คล่องปาก แล้วจะได้คล่องใจ เป็นสมาธิ”
จากหนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม ๙ เรื่อง วิธีแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศล โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์ http://www.jarun.org/v6/th/lrule09p0301.html
การวางจิต
เมื่อสวดมนต์ได้ถูกวรรคตอน เป็นสมาธิดีแล้ว ก็วางจิตให้ถูกต้อง
สวดมนต์เป็นนิจ อธิษฐานจิตเป็นประจำ (ลิ้นปี่)
อโหสิกรรมเสียก่อนและเราก็แผ่เมตตา… (ลิ้นปี่)
มีเมตตาดีแล้ว ได้กุศลแล้วเราก็อุทิศเลย (อุณาโลม)
“แผ่ส่วนกุศลทำอย่างไร อุทิศตรงไหน ทำตรงไหน และวาง จิตไว้ตรงไหน ถึงจะได้ อย่าลืมนะ ที่ลิ้นปี่ หายใจยาว ๆ สำรวม เวลาสวดมนต์นั้นน่ะ ได้บุญแล้ว
ไม่ต้องเอาสตางค์ไปถวายองค์โน้น องค์นี้หรอก แล้วสำรวมจิต ส่งกระแสจิตที่หน้าผาก อุทิศส่วนกุศล..” สวดมนต์เป็นนิจ (ลิ้นปี่)
“ลิ้นปี่ จะอยู่ครึ่งทางระหว่างจมูกถึงสะดือ”
“……..อธิษฐานจิต หมายความว่า ตั้งสติสัมปชัญญะ ไว้ที่ลิ้นปี่ สำรวมกาย วาจา จิตให้ตั้งมั่นแล้ว จึงขอแผ่เมตตาไว้ในใจ สักครู่หนึ่ง แล้วก็อุทิศให้มารดา
บิดาของเรา ว่าเราได้บำเพ็ญกุศล ท่านจะได้บุญ ได้กุศลแน่ ๆ เดี๋ยวนี้ด้วย ผมเรียนถวายนะ มิฉะนั้นผมจะอุทิศไปยุโรปได้อย่างไร……….”
อธิษฐานจิตเป็นประจำ (ลิ้นปี่)
แผ่เมตตากับอุทิศ มันต่างกัน ทำใจให้เป็นเมตตาบริสุทธิ์ก่อน ไม่อิจฉา ริษยา ไม่ผูกพยาบาทใครไว้ในใจ ทำใจให้แจ่มใส ทำให้ใจสบาย คือ เมตตาแล้วเราจะอุทิศ
ให้ใครก็บอกกันไป มันจะมีพลังสูง สามารถจะอุทิศให้ คุณพ่อคุณแม่ ของเรากำลังป่วยไข้ให้หายจาก โรคภัยไข้เจ็บได้ เช่น วีโก้ บรูน ชาวนอรเวย์ที่เคยมาบวชที่วัดนี้
เป็นต้น…
อโหสิกรรมก่อนแล้วค่อยแผ่เมตตา
“หายใจยาว ๆ ตั้งกัลยาณจิตไว้ที่ลิ้นปี่ ไม่ใช่พูดส่งเดช จำนะ ที่ลิ้นปี่ เป็นการแผ่เมตตาจะอุทิศก็ยกจากลิ้นปี่ สู่หน้าผาก เรียกว่า อุณาโลมา ปจชายเต….”
แผ่เมตตา (ลิ้นปี่) อุทิศส่วนกุศล (อุณาโลม)
จากหนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม ๖ เรื่อง การอุทิศส่วนกุศล โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์
ลำดับการสวดมนต์
๑. ตั้งนะโม ๓ จบ
๒. สวดพุทธัง ธัมมัง สังฆัง
๓. สวดพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ
๔. สวดพาหุงฯ
๕. สวดมหาการุณิโกฯ
๖. สวดพุทธคุณอย่างเดียว เท่ากับอายุบวก ๑ เช่น อายุ ๒๘ ปี ให้สวด ๒๙ จบ อายุ ๕๔ ให้สวด ๕๕ จบ เป็นต้น
***************
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
บทสวดพระพุทธคุณ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ
บทสวดพระธรรมคุณ
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติฯ
บทสวดพระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ
พาหุงฯ
พาหุงสะหัส สะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆ ระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
มาราติเร กะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
กัตตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะยะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกาวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฉฐะคาถา โย
วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ
มหาการุณิโกฯ
มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัมหมะจาริสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธีเต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
หลังจากที่ท่านสวดมนต์ ชัยมงคลถาคา (หรือถวายพรพระ) ตั้งแต่ต้น จนจบ แล้วท่านก็กราบพระ ๓ หน แล้วก็สวดเฉพาะบทพุทธคุณ–“อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ” ให้ได้จำนวนจบ เท่ากับอายุของท่าน แล้วสวดเพิ่มอีกหนึ่งจบ ตัวอย่างเช่น ถ้าท่านอายุ ๓๕ ปี ท่านต้องสวด ๓๖ จบ เป็นต้น
หลังจากสวดมนต์เสร็จ ให้อธิษฐานจิต อโหสิกรรม แผ่เมตตา และอุทิศส่วนกุศล ตามลำดับ
บทอธิษฐานจิต
ข้าพเจ้าขอตั้งสัจจะอธิษฐาน ด้วยอานุภาพแห่งบุญกุศลที่เกิดจากการเจริญภาวนานี้ จงเป็นพลวปัจจัย เป็นนิสสัยตามส่งให้เกิดความสุข ความเจริญ และเกิดปัญญาญาณทั้งในชาตินี้ ชาติหน้า ตลอดชาติอย่างยิ่ง บรรลุถึงพระนิพพาน ในปัจจุบันหรือในอนาคตกาลนั้นเทอญ
บทอโหสิกรรม
ข้าพเจ้าของดโทษและอโหสิกรรม ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรที่่ท่านเคยล่วงเกินข้าพเจ้าไว้ ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาติ
ด้วยอานุภาพแห่งบุญกุศลนี้ กรรมอันใดที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้ว ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ต่อหน้าก็ดี ลับหลังก็ดี โดยเจตนาก็ตาม ไม่เจตนาก็ตาม ต่อพระรัตนตรัย มารดา บิดา ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ ผู้มีพระคุณ เจ้ากรรมนายเวร และสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ขอให้ท่านได้โปรดงดโทษและอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าด้วย เทอญฯ
เมื่อสวดมนต์บทพุทธคุณครบแล้ว ให้ลดมือลง ยังคงหลับตา ปักจิตที่ลิ้นปี่ แล้วแผ่เมตตา โดยกล่าวคำแผ่เมตตา
สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลาย ผู้เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันหมดทั้งสิ้น
อะเวรา จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพยาปัชฌา จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อนีฆา จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ
จากนั้นให้พนมมือ ยังคงหลับตา ยกจิตสู่อุณาโลม เพื่ออุทิศบุญกุศล โดยกล่าวคำอุทิศส่วนกุศล
อิทัง ฐิตะธัมมัสสะ โหตุ สุขิโต โหตุ ฐิตะธัมโม
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แด่หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม ขอให้หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม จงมีความสุข
อิทัง มหาราชะ ภูมิพะลัสสะ สะราชินียา โหตุ สุขิโต โหตุ อะโรโค โหตุ ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา ภูมิพะโล สะราชินี
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลมหาราช และ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ จงทรงพระเกษมสำราญ ปราศจากโรคาพยาธิแผ้วพาน มีพระชนมายุยิ่งยืนนาน ชั่วนิรันดร์เทอญ
อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จ แด่มารดาบิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า จงมีความสุข
อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จ แด่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า จงมีความสุข
อิทัง เม ครุปัชฌายาจะริยานังโหตุ สุขิตา โหนตุ ครุปัชฌายาจะริยา
ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จ แด่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า จงมีความสุข
อิทัง สัพพะ เทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวะตาโย
ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จ แด่เทวดาทั้งหลาย ขอให้เทวดาทั้งหลาย จงมีความสุข
อิทัง สัพพะ เปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตะโย
ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จ แก่เปรตทั้งหลาย ขอให้เปรตทั้งหลาย จงมีความสุข
อิทัง สัพพะ เวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เวรี
ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จ แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงมีความสุข
อิทัง สัพพะ สัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา
ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จ แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุขทั่วหน้ากันเทอญ