ชาวพุทธควรรู้

อภัยทาน คืออะไร ?

(สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

sam_2982อภัยทาน คือ การยกโทษให้ คือการไม่ถือความผิดหรือการล่วงเกินกระทบกระทั่งว่าเป็นโทษ อภัยทานนี้เป็นคุณแก่ผู้ให้ ยิ่งกว่าแก่ผู้รับ เช่นเดียวกับทานทั้งหลายเหมือนกัน คืออภัยทานหรือการให้อภัยนี้ เมื่อเกิดขึ้นในใจผู้ใด จะยังจิตใจของผู้นั้นให้ผ่องใสพ้นจากการกลุ้มรุมบดบังของโทสะ อันใจที่แจ่มใส กับใจที่มืดมัว ไม่อธิบายก็น่าจะทราบกันอยู่ทุกคนว่าใจแบบไหนที่ยังความสุขให้เกิดขึ้นแก่ เจ้าของ ใจแบบไหนที่ยังความทุกข์ให้เกิดขึ้น และใจแบบไหนที่เป็นที่ต้องการ ใจแบบไหนที่ไม่เป็นที่ต้องการเลย (เพิ่มเติม…)

ธรรมทาน คืออะไร ?

ธรรมทาน คือการให้ธรรมะเป็นทาน เช่น ให้วิชาความรู้ ให้คำแนะนำสั่งสอนในทางที่ดี ให้คำตักเตือนเมื่อหลงทางผิด และที่ทำให้ง่ายที่สุดคือการให้หนังสือธรรมะเป็นทาน ดังภาษิตของพระพุทธเจ้าตรัสว่า “ผู้ให้ข้าวน้ำ ถือว่าให้กำลัง ผู้ให้เสื้อผ้าถือว่าให้ความสวยงาม แต่ ผู้ให้ธรรมะเป็นทาน ถือว่า เป็นผู้ให้ความเป็นคน ให้สติปัญญา ให้ความพ้นทุกข์ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะผู้ได้อ่านหรือฟังธรรมะแล้วย่อมเกิดความสำนึกที่ดี มีความพากเพียรในการละชั่วทำดี มีสติปัญญาและมีความเพียรในการปฏิบัติตนให้พ้นจากทุกข์ สร้างสุขให้เกิดขึ้นแก่ตน คนรอบข้าง และสังคมต่อ ๆ ไปไม่สิ้นสุด”

วิหารทาน คืออะไร ?

วิหารทาน คือ การทำบุญถวายหรือร่วมสร้างเสนาสนะต่าง ๆ ถวายไว้เป็นสมบัติพระศาสนา เช่น การสร้างพระอุโบสถ (โบสถ์) กุฎิ ศาลา วิหาร หอฉัน หอระฆัง ห้องน้ำ เป็นต้น
องค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสไว้ว่า การถวายวิหารทานมีอานิสงส์มาก

สังฆทาน คืออะไร ?

11079603_665686733558672_4769709913297565265_nสังฆทาน คือ การถวายสิ่งของแก่หมู่พระภิกษุสงฆ์ เป็นการถวายกลาง ๆ ไม่จำเพาะเจาะจงภิกษุรูปหนึ่งรูปใด เมื่อถวายให้แล้วก็ถือว่าพระภิกษุสงฆ์ทุกรูปมีสิทธิ์ใช้สอยสิ่งเหล่านั้นตามสะดวก อาจจะมีเพียงตัวแทนสงฆ์เพียงรูปเดียวมารับประเคน ก็ถือว่าเป็นสังฆทานเหมือนกัน

ปาฏิบุคคลิกทาน คืออะไร ?

ปาฏิบุคคลิกทาน หมายถึง การถวายทานเพื่อถวายเจาะจง พระภิกษุ สามเณร รูปใดรูปหนึ่ง เมื่อถวายแล้วพระภิกษุรูปอื่น ๆ จะไม่มีสิทธิ์การใช้สอย ยกเว้นได้รับอนุญาต โดยการถวายสามารถถวายด้วยตัวเอง หรือถวายฝากพระภิกษุที่มีหน้าที่ดูแลจีวร ภัตร หรือคลังก็ได้

น้ำอัฏฐบาน หรือ น้ำปานะ ๘ อย่าง

น้ำปานะ คือ เครื่องดื่ม ที่คั้นจากลูกไม้ หรือน้ำคั้นผลไม้ ท่านจัดเป็น “ยามกาลิก” คือ ของที่รับประเคนไว้แล้ว ฉันได้วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ถือเอาใจความง่าย ๆ ก็คือ ของที่ฉันได้หลังเที่ยงไปแล้วนั่นเอง หรือฉันได้ท้้งวันทั้งคืนก่อนรุ่งอรุณอีกวันหนึ่ง

ผู้ที่เป็นต้นบัญญัติให้เกิดมีการดื่มน้ำปานะขึ้นเป็นท่านแรกก็คือ เกณิยชฏิล ปรากฏหลักฐานอยู่ในพระไตรปิฎก พระวินัย เล่มที่ ๕ ข้อที่ ๔๖ ในที่นั้นพระพุทธองค์ทรงแสดงน้ำปานะ หรือน้ำอัฏฐบานไว้ ๘ อย่าง ดังนี้

(เพิ่มเติม…)

อาหารหรือเนื้อสัตว์ที่ถวายพระคุณเจ้าไม่ได้

เนื่องมาด้วยจากพระบัญญัติหรือข้อห้ามตามพระวินัยสงฆ์ เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ประพฤติและปฏิบัติตาม พระองค์ทรงห้ามเนื้อไม่ให้พระภิกษุฉันอยู่ ๑๐ อย่าง ดังนี้

๑. เนื้อมนุษย์

๒. เนื้อช้าง

๓. เนื้อม้า (เพิ่มเติม…)

เครื่องไทยธรรมมีอะไรบ้าง

เครื่องไทยธรรม คือ วัตถุสิ่งของต่าง ๆ ที่สมควรถวายแด่พระสงฆ์ เรียกว่า ไทยธรรม หรือ วัตถุทานก็ได้ ได้แก่ ปัจจัย ๔ คือ

๑. อาหาร ได้แก่ อาหารคาวหวาน เครื่องดื่ม หรือของขบฉันต่าง ๆ

๒. เครื่องนุ่งห่ม ได้แก่ สบง จีวร สังฆาฎิ รัดประคด ย่าม ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า ฯ

๓. เครื่องประกอบที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้สอยอื่น ๆ ได้แก่ โต๊ะ เก้าอี้ เสื่อ มุ้ง หมอน ผงซักฟอก สบู่ ยาสีฟัน กระดาษชำระ

๔. ยารักษาโรค ได้แก่ ยาต่าง ๆ รวมทั้งเภสัช ๕ คือ เนยข้น เนยใส น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำมัน (เพิ่มเติม…)